บทความดีๆ จากปี 2002 (แต่ไฉนช่างเหมาะเหม็งกับช่วงเวลานี้เสียจริง)

อันนี้ ไม่ใช่การจะมาบอกว่าเขื่อนดีหรือไม่ดี
แต่จะมาพูดถึงมาตรการป้องกันน้ำท่วม
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พี่น้องในหลายจังหวัดกำลังเดือดร้อนเพราะเหตุการณ์น้ำท่วม
ซึ่งเวียนมาบรรจบ ครบรอบเป็นประจำทุกปี และทุกฝ่ายก็ได้พยายามหาทางแก้ไข
และทุกครั้งที่มีเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นมา
แนวทางแก้ไขที่บางฝ่ายหยิบยกขึ้นมาก็คือ

“เขื่อน”

เพราะเขามีความเชื่อว่าเขื่อนจะทำให้น้ำท่วมหมดไป สำหรับการสูญเสีย พื้นที่ป่า หรือสัตว์ป่านั้น เขาไม่ได้คำนึงถึง เพราะ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนสำคัญกว่าการอนุรักษ์ บางคนถึงกับโจมตีว่า ที่เราเดือดร้อนกัน เพราะน้ำท่วมนั้น เพราะ NGO. ชอบต่อต้านการสร้างเขื่อน ว่าเข้าไปนั่น

อันนี้เราก็ต้องมาดูเหตุผลกันว่าเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือเปล่า และNGO. ต่อต้านการสร้างเขื่อนจริงหรือเปล่า ถ้าจะนับจำนวนเขื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทย มีจำนวนเท่าไร ผมจะไม่บอกจำนวนจริงหรอกเดี๋ยวจะหาว่าโม้ แต่ถ้าถามว่ามีจำนวน เกินพันเขื่อนไหม ขอตอบว่ามีเกินแน่นอน ดังนั้น ใน 76 จังหวัดถ้ายืนตามตัวเลขนี้ เฉลี่ยแล้วปาเข้าไป 10 กว่าเขื่อน/1จังหวัดแล้ว อย่างนี้ เขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือ เปล่า? และถ้าNGO.มุ่งมั่นต่อต้านการสร้างเขื่อนอย่างแท้จริงทำไมถึงปล่อยให้ งอกกันขึ้นมาได้ขนาดนี้

ความจริงเหตุการณ์น้ำท่วมมีขึ้นมาในบ้านเมืองเราเป็นร้อยๆกว่าปีแล้ว แต่คนสมัย ก่อนเขาไม่เดือดร้อนกัน เพราะเขารู้จักปรับตัว อยู่ในที่ชัยภูมิดีๆ และวิศวกรรมการ ก่อสร้างต่างๆก็ปรับตัวตามสภาพ นอกจากไม่เดือดร้อนแล้วยังมีประโยชน์ด้วย ในแง่ของการถ่ายเทพันธุ์ปลาที่มาพร้อมกับน้ำ หรือ ตะกอนความอุดมสมบูรณ์ ต่างๆที่มาพร้อมกับน้ำ และประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ใช้เป็นอาวุธในการป้อง กันข้าศึกศัตรู แต่ที่เดือดร้อนกันทุกวันนี้มันมีสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรอย่าง ล้างผลาญ อย่างเช่นการสร้างถนนปิดกั้นทางน้ำเดิม รวมทั้งการโค่นป่า

ในเรื่องของถนนนั้นมีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านที่เป็นที่นับถือของทั้งชาวไทย – เทศ ได้พูดถึงไว้แล้ว ผมจะไม่ขอเอ่ยนาม เดี๋ยวจะหาว่าเอามาข่มกัน ดูตัวอย่างไกล้ตัว ที่กรุงเทพ แต่ก่อนคลองเยอะ ไม่ค่อยเดือดร้อน เพราะมีทางระบายน้ำเยอะ แต่ ปัจจุบัน ถมคลองสร้างถนน ฝนตกลงมาก็เดือดร้อน อันนี้ ไม่ใช่แนะนำให้ทุบถนน ทิ้ง แต่ขอให้ทำการศึกษาทางน้ำเดิมว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เมื่อเห็นว่าไปทับทาง น้ำเดิมอยู่ก็ให้ทำรูระบายน้ำตรงถนนนั้นให้ใหญ่ขึ้น หรือให้มีประสิทธิภาพขึ้น

ในเรื่องของการฟื้นฟูสภาพป่านั้น ก็ยังเห็นควรต้องเร่งทำอยู่ จริงอยู่ป่าไม่ได้ ทำให้น้ำท่วมหมดไป แต่มันทำให้ทุกอย่างเป็นไปตามระบบ ทำให้เราสามาถหาทาง รับมือได้ทัน ซึ่งการฟื้นฟูสภาพป่านั้นก็มีองค์กรบางองค์กรได้ทำสำเร็จแล้ว ซึ่ง ใช้เวลาไม่นานนักอย่างที่คิดกัน ซึ่งเป็นการดำเนินรอยตามกระแสพระราชดำรัส ขององค์พระประมุขของชาติ ซึ่งผมจะได้นำมากล่าวถึงในโอกาสต่อไป

ส่วนที่ๆมีชัยภูมิที่ดีในปัจจุบันนั้น ก็ถูกพวกคนมีกะตังค์กว้านซื้อไปหมดแล้ว อัน นี้นโยบายการปฏิรูปที่ดินต้องเข้ามามีบทบาท

สิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนั้น ไม่ได้บังคับให้ใครต้องเชื่อตาม แต่ขอให้ร่วมกันพิจารณาด้วยเหตุด้วยผล เพื่อความเจริญของชาติร่วมกัน

“ตะพาบม่านลาย” ตะพาบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และคาดว่าจะพบได้ในเมืองไทยเท่านั้นเป็นสัตว์ป่าอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เดือดร้อนเพราะเขื่อน(ภาพจากกรมประมง)

บทความโดย
Day Walker

Comments

comments

Comments are closed.