บทความดีๆ จากปี 2002

สายวันหนึ่งผมได้มีโอกาสไปจังหวัดมหาสารความ ระหว่างที่เดินดูต้นไม้รอบพื้นที่ ผมไปเจอลูกไม้ประหลาดสีเหลืองสดเต็มต้นแทบไม่เห็นใบเลย เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ พบว่าคือ ต้นข่อย ชื่อท้องถิ่น ส้มฝ่อ(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กักไม้ฝอย(เหนือ) ส้มพอ (เลย) ขรอย ขันตา (ใต้) สะนาย (เขมร) ตองขะแน่ (กาญจนบุรี) ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour. , MORACEAE และชื่อภาษาอังกฤษคือ Siamese Rough Bush, Tooth Bush Tree อืม…พอดูชื่อภาษาอังกฤษแล้วมันต้องมีอะไรมาเกี่ยวข้องกับฟันของเราแน่ๆ
จากตำราสารานุกรมสมุนไพรของ อ.วุฒิ วุฒิธรรมเวช ได้กล่าวไว้ว่า ข่อยเป็นพืชวัตถุ ประเภทต้น ส่วนที่มีสรรพคุณทางยา คือ ใบ เปลือก กระพี้ เยื้อหุ้มกระพี้ เปลือกราก ราก ลูกและเมล็ด จะขอยกตัวอย่างสรรพคุณที่สำคัญดังนี้

เปลือกต้น สรรพคุณ ดับพิษในกระดูกในเอ็น แก้พยาธิทางผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง ดับพิษทั้งปวง
แก้โรคฟัน รักษาฟันให้แข็งแรง แก้ปวดฟัน แก้โรครำมะนาด หุงเป็นน้ำมันทาหัวริดสีดวง
เปลือกราก สรรพคุณ บำรุงหัวใจ พบว่ามีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจประมาณ 30 ชนิด
ลูก สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้ลม แก้กระษัย ขับลมจุกเสียด เป็นยาอายุวัฒนะ
เมล็ด ยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม แก้ท้องอืดท้องเฝือ แก้ลมและโลหิต ขับลมในลำไส้


แต่สิ่งที่ผมรู้มาตั้งแต่สมัยเด็กว่าใช้ใบข่อยจับปลาไหลเนื่องจากใบนั้นสากจึงจับปลาไหลได้โดยไม่ลื่นไหลแต่ถ้าใส่สเก็ตก็ไม่แน่น่ะครับ และเปลือกของต้นข่อยก็มารักษาฟัน ซึ่งบ่งบอกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรามาตั้งแต่เก่าก่อน

เห็นไหมครับต้นไม้นั้นมีประโยชน์มากมายขนาดไหน แต่มีข้อระวังน่ะครับผลสุกของข่อยมีรสหวานเมาเบื่อหากกินมากอาจจะเมาน่ะครับ อย่างไรก็ตามตอนนี้มีการวิจัยเรื่องข่อยกับฟันของเราครับของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความโดย
นายนกขมิ้นน้อยธรรมดา
ที่มาของภาพ : จากอินเทอร์เน็ต

Comments

comments

Leave a reply

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong> 

required