เมื่อกลับจากตามช้างป่า พี่ตุ้มก็ชวนพวกเราไปเดินในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลังที่ทำการฯต่อทันที พี่ตุ้มบอกว่าแม้เส้นทางเดินนี้จะมีระยะทางค่อนข้างสั้น แต่ก็เต็มไปด้วยจุดศึกษาธรรมชาติมากมาย เหมาะที่จะพานักเรียนมาเดินศึกษาครับ

ระหว่างเดินพวกเราก็ไปเจอไข่ 2 ฟองที่ข้างทาง ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นไข่อะไร บ้างก็ว่าไข่เต่า บ้างก็ว่าไข่ตัวเหี้ย ที่สุดก็ปล่อยให้มันอยู่ที่เดิม หวังว่าคงไม่มีสัตว์ตัวอื่นมาคว้าไปกินซะก่อน

25102006(011)

ว่ากันว่าตอนเจ้าปุยสะพายเป้ มันช่างเหมือนปลาโลมาติดระเบิดยังไงยังงั้นเลย ฮ่าๆ

25102006(013)

ที่เหยียบอยู่ตอนนี้ก็คือ ฝ่ายแม้วครับ เอาไว้ชะลอการไหลของน้ำที่ไหลมาจากบนเขา และยังสามารถกักเก็บน้ำได้อีกด้วย จุดประสงค์ของการกักเก็บน้ำก็เพื่อทำให้พื้นที่รอบๆบริเวณเกิดความชุ่มชื้น ต้นไม้แถบนั้นก็จะเขียวขจีไม่แห้งครับ เมื่อมีไม้เขียว สัตว์เล็กๆก็จะมา เมื่อสัตว์เล็กๆมา สัตว์ใหญ่ๆก็จะตามมาเช่นกันครับ

โดยทั่วไปฝายแม้วแบ่งเป็น 3 ประเภทคือภ ฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน(ดิน) , ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร(หิน) และ ฝายต้นน้ำลำธารแบบถาวร(ปูน)ครับภ ที่พวกเราไปเห็นคือ ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร(หิน)ครับ

25102006(016)

อันนี้คือรูปของแมงมุมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งชักใยได้อย่างมหัศจรรย์อย่างมากครับ

25102006(023)

แน่นอนครับสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักเดินป่าวศึกษาธรรมชาติก็คือ แผนที่บอกจุดหรือตำแหน่งที่จะเข้าไปศึกษา ถ้าเป็นไปได้เราควรเดินมาดูก่อนที่จะเดินในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติครับ

25102006(026)

ไว้เจอกันใน Entry ถัดไปนะครับภ สวัสดีครับ

บทความโดย

นายนกกระรางหัวหงอก

Comments

comments

Comments are closed.