ตกปากรับคำไว้ตั้งแต่กลางปีว่าจะพาแม่กลับไปเยี่ยมบึงกาฬบ้านเกิด กอปรกับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กลับไปพบปะญาติสนิทมิตรสหายที่ไม่ได้เจอะเจอกันมานมนาน ส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นความต้องการที่อยากจะกลับบึงกาฬในช่วงปลายปี เพื่อจะสัมผัสอากาศหนาวเย็นที่เคยยลครั้งยังเยาว์ ซึ่งไม่ได้รู้สึกแบบนั้นมานานมากแล้ว อยากจะได้ความรู้สึกที่แสนจะอบอุ่นด้วยไมตรีจิตจากรอยยิ้มของคนบึงกาฬ ในฐานะที่เป็นอำเภอก่อนที่จะเลื่อนขั้นไปเป็นจังหวัดดูอีกสักครั้งหนึ่ง เอ จะว่าไปอันตัวเราก็คงหนีไม่พ้นพลังอำนาจของความอยากสินะ ^ ^ เหอ เหอ เหอ

ผม แม่ น้าสาว และน้องสาว เดินทางออกจากหมอชิตราวทุ่มกว่าด้วยรถทัวร์ แอร์อุดร สาย กรุงเทพฯ – บึงกาฬ รถวิ่งผ่านหลายจังหวัด ตั้งแต่ปทุมธานี อยุธยา สระบุรี โคราช ขอนแก่น อุดร หนองคาย ถึงโน้นก็ราวตีสี่กว่าๆ ปกติจะใช้ระยะเวลาการเดินทางประมาณนี้แหละครับเฉลี่ยก็ราว 8 – 9 ชั่งโมง และทันทีที่พวกเราก้าวพ้นประตูรถทัวร์ มวลอากาศก้อนเย็นๆก้อนแรกก็เข้ามาปะทะเข้าเต็มๆภ โอว์ หนาวเย็นได้ใจอย่างที่คิดจริงๆ

ถ้าเป็นเมื่อก่อนพอกลับถึงบึงกาฬปุ๊บก็จะต้องรีบกลับบ้านไปนอนเอาแรงทันที เพราะนั่งรถมานาน แต่ตอนนี้ความรู้สึกมันเปลี่ยนไปเมื่อก่อน ผมว่านี่ไม่เหมือนกันการกลับบ้านในทุกๆครั้งที่ผ่านมา เป็นความรู้สึกของนักท่องเที่ยวมากกว่านะภ ความรู้สึกที่อยากที่จะเที่ยว ความแปลกไปจากเดิมของสถานที่ ความตื่นเต้นที่ได้กลับที่ในที่ที่เคยอยู่ มันมีความสุขอย่างบอกไม่ถูกจริงๆครับภ แต่ก็ไม่ได้ทิ้งสายสัมพันธ์ของการเป็นบ้านเกิดที่ที่รกของผมถูกฝังเอาไว้ที่นี่

สักพักก็ได้ยินเสียงแม่ตะโกนเรียกให้ไปดืมกินกาแฟกันก่อนภ จริงสินะ ก็เพิ่งเห็นว่ามีแม่ค้าเริ่มทยอยเปิดร้านกันบ้างแล้ว เหลือบไปมองนาฬกาบนข้อมือก็ปาเข้าไปตีห้ากว่าๆ แล้ว จัดกาแฟเข้มๆขมๆ สักแก้วก็ดีเหมือนกัน

ฟ้าเริ่มสางแล้วมองไปเห็นจุดที่เคยเป็นหอนาฬิกาตรงวงเวียนหลักของอำเภอภภ ตอนนี้กลายไปเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์แทน ซึ่งถ้าใครเดินทางมาเที่ยวที่นี่ก็จะต้องเห็นกันทุกคนครับ

ลืมบอกไปว่าวันที่ผมไปถึงบึงกาฬเป็นวันส่งท้ายปีเก่าพอดี และก็เป็นวันศุกร์ด้วย ทางอำเภอเค้าเปิดให้มีตลาดนัด ไทย – ลาว ซึ่งถ้าจำไม่ผิดเค้าจะเปิดให้มีเพียง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คือวันอังคารกับวันศุกร์ครับ แม่บอกว่าอยากไปเดินตลาดนัดไทยลาวดูสักหน่อยว่าจะมีอะไรแปลกๆ มาขายบ้างไหม แน่นอนทุกคนเห็นด้วยในข้อเสนอนี้ ก็แน่ล่ะอยากจะเที่ยวกันอยู่แล้วหนินา

พวกเราเดินยืดเส้นยืดสายผ่านตัดชุมชนเพื่อมุ่งตรงไปยังถนนริมตลิ่งแม่น้ำโขงและตั้งใจว่าจะเดินเลาะชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำโขงไปจนกว่าจะถึงที่ว่าการอำเภออันเป็นที่ตั้งของตลาดนัดชั่วคราว ไทย – ลาว ระหว่างทางผมก็ได้ผ่านสถานที่ตั้งโรงฉายหนังของอำเภอ โรงหนังแห่งเดียวของอำเภอ มีชื่อด้วยนะครับชื่อว่า “แสงชัยราม่า” เท่าที่เห็นจากภายนอกสภาพของโรงหนังไม่ได้จะทรุดโทรมลงไปจากแต่ก่อนเลย ผมว่าดูใหม่กว่าเดิมด้วยซ้ำนะครับ แสดงว่าที่นี่ยังเปิดให้บริการอยู่ นอกจากแสงชัยราม่าจะใช้เป็นที่ฉายหนังแล้วยังเปิดให้วงดนตรีทั้งลูกกรุง ลูกทุ่ง หมอรำ ได้เช่าใช้ในการแสดงอีกด้วยครับ

ยุคนี้เทรนด์นี้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชอบบ้านไม้เก่าๆ ที่นี่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างประปราย ไม่หนาแน่เหมือนของเชียงคานครับ ยังคิดอยู่เลยว่าถ้ามีใครสักคนที่ไฟแรงๆและพอที่จะมี Power หน่อย ช่วยกันผลักดันปลุกกระแสท่องเที่ยวของที่นี่ให้บลูมขึ้น ผมว่าที่บึงกาฬก็สู้กับสถานที่ดังๆ อย่างเชียงคานหรือปายได้นะ ไม่ได้โม้ อิๆๆ

ช่วงเช้าๆ อย่างนี้ที่ดูสงบเงียบ เพราะหลายคนไปจับจ่ายซื้อของที่ตลาด คนที่นี่ไม่ต้องรีบตื่น รีบกิน รีบไปขึ้นรถเมล์ เหมือนคนกรุงเทพฯ ชิวล์ๆ สบายๆ

เดินผ่านร้านอาหารที่เคยได้ชื่อว่าดีที่สุดของบึงกาฬ แต่ตอนนี้ดูทรุดโทรมลงไปมาก “ร้านคลายกังวล” ไม่แน่ใจว่ายังเปิดให้บริการอยู่หรือเปล่านะครับ เจ้าของร้านท่านเคยเป็นอาจารย์ประจำชั้นของผมตอนอยู่ป.5

ก่อนถึงริมแม่น้ำโขงสถานที่สำคัญอีกแห่งที่นักท่องเที่ยวที่จะมาบึงการควรทราบก็คือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองบึงกาฬครับ แน่นอนว่าเราต้องทำธุรกรรมที่นี่ก่อนที่จะข้ามไปเที่ยวเมืองปากซันฝั่งลาว ซึ่งเท่าที่ทราบก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ตัวผมเองอยู่บึงกาฬมาสิบเอ็ดปีไม่เคยข้ามไปฝั่งโน้นเลยสักครั้ง เหตุเพราะเมื่อก่อนเรากับลาวยังไม่ค่อยจะลงรอยกันสักเท่าไรในเรื่องของการเมือง

และแล้วก็มาถึงริมแม่น้ำโขง ช่วงนี้ปลายปีเป็นช่วงน้ำลด จะเห็นว่ามีสันดอนหาดทรายทอดตัวยาวไปไกลเลยทีเดียวครับ ทุกๆปีเมื่อน้ำลดก็จะมีคนลงไปจับจองพื้นที่ปลูกผักทำไร่กัน เป็นที่ทราบกันดีว่าดินตะกอนแม่น้ำโขงนั้นค่อนข้างอุดมสมบรูณ์ปลูกอะไรก็งามไปหมด

และตอนนี้พวกเราเดินมาถึงตลาดนัดไทย-ลาวเป็นที่เรียบร้อย สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วผมว่านี่เป็นสวรรค์เลยทีเดียว บรรยากาศเช้าๆ ของตลาดต่างหวัด มีสินค้าแปลกตาให้ดูมากมาย มีของกินแปลกๆ อร่อยๆ ไว้รอต้อนรับเรา และที่สำคัญก็คือ อากาศหนาวนั่นเองครับ

แม่ค้าที่มาขายสินค้าที่นี่มีทั้งชาวไทยและชาวลาวที่ข้ามมาจากปากซัน สินค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นของกินครับ เท่าที่ดูราคาไม่แพงใครที่ชอบดูชอบชิมรับรองได้เลยว่าไม่ผิดหวังครับ

ช่วงนี้หน้าหนาวเป็นฤดูของ มันเพา หรือ ที่คนภาคกลางเรียกมันแกว เวลาดึงจากดินมาสดๆ เนี่ยขอกรอบอร่อยมาก รสชาดต่างจากในรถขายผลไม้มากมายครับ ที่เห็นพวงใหญ่ๆ เนี่ยไม่กี่สิบบาทครับ ส่วนใหญ่เจ้าของไร่เค้าจะปลูกที่ริมแม่น้ำโขงนั่นแหละ

สินค้าในตลาดนอกจากจะเป็นอาหารการกินแล้ว ยังมียาสมุนไพรด้วย มีเพียงไม่กี่อย่างที่ผมรู้จัก แต่บางอย่างดูแล้วก็ทำให้ประหลาดใจได้เหมือนกันครับ ดั้งนั้นหาท่านใดจะซื้อไปใช้หรือไปฝากก็ต้องใช้เวลาดูให้ดีๆ

ดูชื่อยาแต่ละขนานก็ทำให้นึกขำได้ อะไรมันสรรพคุณล้ำเลิศถึ งเพียงนั้น และแน่นอนครับ สินค้าทุกชิ้นไม่มีเครื่องหมาย อย.

ตอนพี่ผมเดินก็ราวๆ 7 โมงเช้า ผู้คนก็อาจจะดูบางตาไปบ้าง ซึ่งก็ดีสำหรับพวกเรา จะได้เดินสบายๆ แต่เดี๋ยวสักพักคงจะแห่กันมาเยอะแยะ

แตงโมง เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่คนบึงกาฬชอบปลูกกันมากในฤดูหนาว ผมยังจำได้ว่าตอนเรียนประถมระหว่างเดินทางกลับบ้านจะแวะซื้อเป็นประจำ ลูกละบาทสองบาทแต่มันใหญ่มาก ก่อนซื้อก็ต้องเคาะฟังเสียงดูก่อนว่าลูกไหนแดงลูกไหนไม่แดง(ดิบๆห่ามๆ) ทุกวันนี้ถ้าให้ไปเลือกอีกผมก็ยังจำเสียงนั้นได้ และคิดว่าแตงโมที่เลือกน่าจะมีเปอร์เซ็นต์ที่จะสุกมากกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์นะครับ อิๆ ม่ายด้ายโม้

แตงโมเนื้อสีเหลืองเหล่านี้ดูแล้วแปลกตาชะมัด จากที่เคยทานมาบ้างแล้วรสชาดก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากแตงโมสีแดงนะครับ อร่อยหวานกรอบเหมือนกัน แต่โมที่มีเนื้อสีเหลืองเค้าเรียกกันว่าแต่โมน้ำผึ้ง เข้าใจว่าน่าจะเกี่ยวกับสีของเนื้อแตงโมงที่มีสีเหลืองอําพันคล้ายน้ำผึ้งน่ะครับ

เดินผ่านแม่ค้าคนนึงก็ต้องหยุดดู เหลือบไปเห็นหนูนาที่เค้าจับ(ตาย)มาขาย หลายคนที่เกลียดก็จะรีบเดินหนีห่างด้วยความขยะแขยง แต่กับอีกหลายคนมองว่ามันคือแหล่งโปรตีนธรรมชาติชั้นยอด เอาไปทำเมนูอาหารได้หลายเมนูเลยทีเดียว แน่นอนผมเคยทานครับ

หน่อข่า(หน่อของต้นข่าป่า) เป็นผักท้องถิ่นของคนอิสานครับ ก่อนจะนำมาทานก็ให้ปอกเปลือกลำต้นสีเขียวๆออกเอาส่วนอ่อนๆ ด้านในไปทาน จะเอาไปทำเป็นแกง เช่น ทำแกงเปอะ แกงหน่อไม้ หรือจะนำมาลวกกินกับน้ำพริกก็อร่อยมากมายครับ

ข้าวเม่า หลายท่านคงจะเคยได้ยินขนมชนิดนี้กันทำมาจากเมล็ดข้าวที่ยังอ่อนๆ ซึ่งจะมีความหวานหอมอยู่ในตัว ใส่กับเนื้อมะพร้าวทานอร่อยมากครับ

อันนี้เป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ครับ ด้านบนคือ มั่ม เป็นใส่กรอกชนิดหนึ่งที่มีรสชาดจัดจ้านมาก ชาวอิสานนิยมนำเนื้อมาถนอมอาหารกันด้วยวิธีนี้กันมาก

ข้าวจี่ทาไข่ กลับบึงกาฬทีไรก็จะหาซื้อมาทานเป็นประจำครับ จะว่าไปวิธีการทำมันก็ไม่ยากนะ แค่ตีไข่ใส่น้ำปลานิด แล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นรูปกลมๆแบนอย่างในภาพแล้วก็ย่างไฟให้หอมๆ ก็ทานได้แล้วล่ะครับ เพื่อนๆ ลองทำไปทำทานดูนะ

สีเสียดเป็นเปลือกไม้ชนิดหนึ่งที่คนแก่เค้าเอามาเคี้ยว(แค่เคี้ยวนะครับ)กับหมาก พูดง่ายๆก็คือเป็นส่วนผสมของการเคี้ยวหมากนั่นแหละครับ

ต้นก้ามปูหรือต้นสำสา(คนแถวบ้านผมเค้าเรียกกัน)ต้นนี้อยู่มานานมากตั้งแต่สมัยผมเป็นเด็กๆ จะกี่ปีผ่านไปมันก็ต้นประมาณะนี้ ไม่น่าจะเติบโตไปกว่านี้อีกแล้ว ถ้าจะเปรียบกับคนผมว่าต้นไม้ต้นนี้เหมือนคนแก่คนเฒ่าที่เราควรจะดูแลรักษา

เสร็จจากเดินร่อนที่ตลาดก็คงถึงเวลาที่จะหาข้าวเช้ารับประทานกันได้แล้ว ร้านนี้เป็นร้านที่เคยมาทานเมื่อหน้าหนาวปีที่แล้ว (ปี 53) ปีนี้ก็ได้กลับเข้ามาทานกันอีกครั้ง ฝีมือก็ยังโอเคเหมือนเดิมครับ และแน่นอนกลับบึงกาฬทั้งทีก็ต้องมากินปลาน้ำโขง ผมก็เลยสั่งผัดพริกแกงปลากดมากินซะเลย เพิ่มเติมด้วยเกาเหลาร้อนๆ โอว์ ได้พละกำลังขึ้นมาเยอะเลยทีเดียว

ทานข้าวเช้าเสร็จก็เดินตลาดต่ออีกนิด ไปเจอเสื้อยืดยอดฮิตของคนบึงกาฬ ในเวลานั้นไปไหนมาไหนก็เห็นคนใส่กันเยอะ เมื่อใส่แล้วผมเข้าใจเลยว่ามันจะทำให้เรารู้สึกถึงความรักในบ้านเกิด ภาคภูมิใจในความเป็นบึงกาฬ และดีใจกับการก้าวสู่การเป็นจังหวัดที่ 77 ในอีกไม่นาน อ่อ ลืมบอกไปว่าช่วงนั้นบึงกาฬยังไม่ได้เป็นจังหวัดโดยสมบรูณ์นะครับ เพราะว่ายังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแม้ผ่านครม.แล้วก็ตาม แน่นอนผมก็ต้องซื้อเก็บไว้ตัวนึง ถ้าสังเกตุจะเห็นว่าคำสะกดที่เป็นภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง เข้าใจว่าเสื้อตัวนี้อาจจะไม่ได้ทำโดยคนบึงกาฬหรือเปล่า เพราะมันน่าจะต้องสะกดว่า bungkan มากกว่านะครับ

สัตว์น้ำก็เป็นอีกหนึ่งอาหารหลักของคนที่นี่ครับ คือถ้ามาบึงกาฬแล้วไม่ได้ทานปลาน้ำโขงก็น่าจะเหมาไปได้เลยว่ามาไม่ถึงบึงกาฬจ่ะ

คุณพี่ท่านนี้เป็นแม่ค้าจากประเทศลาว พี่เค้ามาขาสินค้าจำพวกเครื่องนุ่งห่มสวยๆ หลายรายการ เห็นว่าสวยถูกใจผมเลยก็อุดหนุนมาชิ้นสองชิ้น

ระหว่างซื้อสินค้าเห็นน้องคนนี้นั่งผิงแดดเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกายอยู่ เห็นนั่งนิ่งๆ อยู่นาน ไม่รู้ว่าน้องเค้าคิดอะไร เข้าใจว่าคงจะกำลังมีความสุขกับความอบอุ่นหรือไม่ก็กำลังง่วงนอน

สมควรแก่เวลา พวกเราเดินออกจากตลาดมาโผล่ตรงถนนอีกเส้น จะว่าถนนเส้นนี้เค้าก็ยังคงเก็บบ้านเก่าๆ ที่ปลูกสร้างด้วยไม้เอาอยู่หลายหลังครับ ถ้าตกแต่งบ้านกันดีๆ ผมความงามนี้ก็น่าจะส่งผลต่อการท่องเที่ยวที่นี่ได้เป็นอย่างดีครับ

อันนี้เป็นเสื้อบึงกาฬอีกแบบนึงครับ สไตล์การออกแบบน่าจะเอาใจคนที่ต้องการความหลากหลาย

ก็ดูสวยดีเหมือนกันนะครับ

ระหว่างเดินกลับที่พัก ก็เหลือบไปเห็นร้านสะดวกซื้อเซเว่นฯ กับรถแท็กซี่(ซึ่งไม่รู้ว่าโผล่มาได้ไง) จะว่าไป นี่น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเมืองที่กำลังรุกคืบเข้ามาที่นี่

Entry ตอนที่ 1 นี้ค่อนข้างยาวหน่อยนะครับ หวังว่าจะไม่ทำให้เพื่อนๆ เหนื่อยเวลาอ่าน ^ ^

บทความโดย
Orange Smallfish

Comments

comments

Leave a reply

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong> 

required